ศิลปะ




ชุดส่างลอง
http://www.asean-info.com/images/news/news_mym_psl-1.jpg






เด็กชายจะตื่นตั้งแต่ตีห้าเพื่อแต่งเครื่องทรงให้สมกับการเป็นส่างลอง นุ่งโจงกระเบนสีสด ปล่อยชายด้านหลังยาวจับจีบ คาดด้วยเข็มขัดนาคหรือเงิน สวมเสื้อแขนกระบอกชายโค้งงอน เสื้อปักฉลุลวดลายดอกไม้สีต่างๆ ที่งดงามพิเศษอีกอย่างคือ ผ้าแพรโพกเกล้าเสียบแซมด้วยดอกไม้พลาสติกหลากสี  เขียนคิ้วคมเข้ม ทาแป้งนวล แต่งหน้าสีจัดจ้าน ถุงเท้าสีขาว ถือเป็นการแต่งตัวส่างลอง


การแต่งหน้า









การแต่งหน้าแต่งตาเขียนคิ้วทาปากจนดูคล้ายยี่เกนั้น แท้ที่จริงก็คือการตกแต่งลูกแก้วให้มีความงดงามผิดมนุษย์ทั่วไป สมฐานะกับที่เป็นเทวดาหรือเจ้าชายสิทธัตถะ ดังนั้นหากปล่อยให้หน้าซีดหน้าเซียวมอมแมมตามประสาเด็กก็จะดูไม่สมเกียรติกับการขนานนามว่า"ส่างลอง" และยังมีคำถามอีกว่าทำไมต้องขี่ม้าหรือแต่งหน้าก็คือ การใส่แว่นดำ ทั้งๆ ที่มีคนกางกลดกางจ้องให้อยู่แล้ว จะร้อนแสบตาอะไรกันนักกันหนาหรือ?
 แว่นตาดำที่สวมนี้มีนัยยะว่า ลูกแก้วผู้นั้นกำลังฝ่าข้ามชีวิตจากฝ่ายโลกียะ เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกมหาภิเณษกรมยามราตรี และกลายร่างเป็นสมณเพศจวบรุ่งสาง เช่นเดียวกัน แว่นดำจะทำให้โลกของลูกแก้วนั้นมืดสนิทอยู่ในห้วงนิศากาล เป็นโลกที่ไร้สีสัน ตราบเมื่อทำพิธีในพื้นที่เฉพาะของชาวบ้านเสร็จ ถอดแว่นดำออกก็จะพบกับโลกอีกใบหนึ่งที่รออยู่ คือโลกที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะสู่ฟ้าสางเส้นทางใหม่แห่ง โลกุตระ
ในอดีตนั้นไม่มีแว่นดำให้สวมใส่ จึงใช้ผ้าปิดตามัดให้แน่น น่าจะยิ่งช่วยสร้างบรรยากาศของยามรัตติกาลให้แก่ลูกแก้วบนหลังม้าได้ดีกว่าการเปลี่ยนมาเป็นแว่นดำ เพราะเห็นเณรหลายคนเมื่อสวมแว่นดำที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ลอดแว่นได้นั้น ยังเฮฮาปาร์ตี้สนุกสนานหัวร่อร่า ผิดกับลูกแก้วสมัยก่อนที่ต้องทนอยู่ในโลกส่วนตัวอันมืดมิดนั่งสงบนิ่งระคนใจตุ้มๆ ต่อมๆ บนหลังม้าอย่างวังเวง




ขบวนแห่ปอยส่างลอง
 ซึ่งในขบวนแห่ก็จะประกอบไปด้วยเสียงดนตรีอันแสดงถึงความสนุกสนานรื่นเริงจากเครื่องดนตรีของไทใหญ่ ได้แก่ มองเซิง (ฆ้องชุด) ฉาบ และกลองมองเซิง (กลองสองหน้า)


ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม

ประเพณีปอยส่างลอง หรือ งานบวชลูกแก้ว เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยจะพบเห็นการจัดปอยส่างลองกันมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอปาย คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประเพณีนี้ก็สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่ ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอดงานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน ดังปรากฏว่าหลักฐานว่าประเพณีนี้มีมาตั้งแต่มีการสร้างแปลนเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งก็ ได้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆปี เนื่องจากเป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนา และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดจนกระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) จนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในระหว่างนั้นประเทศไทยได้ประสบปัญหาทางด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ประเพณีปอยส่างลองปีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ก็ได้มีการฟื้นฟูและจัดงานประเพณีปอยส่างลองขึ้นทุกๆปีจนถึงปัจจุบัน และประเพณีนี้ก็ได้ขยายไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย

วัฒนธรรม
มี ๒ วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบที่เรียกว่า ส่างลอง
๑. แบบข่ามดิบเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร
๒. แบบส่างลอง เป็นวิธีที่จัดงานกันใหญ่โตนิยมกันมากแบ่งวันจัดงานเป็น ๓ วัน คือ
วัน แรก เรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดส่างลอง คล้ายเจ้าชายไทยใหญ่รับศีล นำส่างลองแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันและนำส่างลองกลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ
วัน ที่สอง เป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำในตอบเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและส่างลองไปที่ วัด เลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ส่างลองด้วย
วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา และอาจมีจุดบั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย


วัฒนธรรม
มี ๒ วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบที่เรียกว่า ส่างลอง
๑. แบบข่ามดิบเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร
๒. แบบส่างลอง เป็นวิธีที่จัดงานกันใหญ่โตนิยมกันมากแบ่งวันจัดงานเป็น ๓ วัน คือ
วัน แรก เรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดส่างลอง คล้ายเจ้าชายไทยใหญ่รับศีล นำส่างลองแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันและนำส่างลองกลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ
วัน ที่สอง เป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำในตอบเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและส่างลองไปที่ วัด เลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ส่างลองด้วย
วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา และอาจมีจุดบั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ - ดนตรี นาฏศิลป์ และมนุษย์
   
พื้นฐานของมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และธรรมชาติของมุนษย์ยังมีความต้องการ ทางด้านร่างกายและทางจิตใจ ควบคู่กันไป มนุษย์ต้องการมองเห็น การได้ยิน และสัมผัสได้ ภาวะการรับรู้โดยรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแรงเสริมทำให้มนุษย์มีสุนทรียภาพในการรับรู้ในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอันได้แก่

       1. การมองเห็น คือการที่มนุษย์ได้มองเห็นภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติ เช่น ป่าเขา ลำเนาไพร ธารน้ำตก ท้องทะเลที่กว้างใหญ่สุดตา ความงามของดวงอาทิตย์ยามเช้าและตกจนคล่อย ๆลับขอบฟ้า ท้องทุ่งที่มีดอกไม้หลากสีสวยนานาพันธุ์ สีสรรสวยสดงดงาม เช่น ทุ่งทานตะวัน เป็นต้น ความงดงามของธรรมชาติเหล่านี้ ถ้ามนุษย์ช่วยกันดำรงรักษาทำนุบำรุง ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะอันได้แก่ธรรมชาติก็จะคงอยู่คู่กับมนุษย์ตราบเท่านานแสนนาน
   2. การได้ยิน มนุษย์เรามีการรับรู้ โดยได้ยินเสียงต่างๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงไก่ขันในตอนเช้า เสียงนกร้อง เสียงฝนตก เสียงน้ำตกไหลลงสู่ธารน้ำ เสียงคลื่นลมที่พัดกระทบฝั่ง ลักษณะธรรมชาติเหล่านี้เป็นที่มา ของการเล่านิทานพื้นบ้าน และก่อให้เกิดตำนานเรื่องราวตามความเชื่อ ค่านิยมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ  และเสียงต่างๆที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติทำให้เกิดการรับรู้ด้วยการได้ยินเสียงที่มีจังหวะคล้ายเสียงดนตรีก่อให้เกิดความสุขเพลิดเพลินและเป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดจินตนาการสร้างสรรศิลปะมาจนทุกวันนี้
 3. ลีลาการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ ได้แก่การแสดงกิริยาอาการต่างๆของมนุษย์และสัตว์ การเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า ลมพัดจน ต้นไม้แกว่งไกว การเคลื่อนตัวของคลื่นในท้องทะเล การเคลื่อนไหวของธรรมชาติ และสิ่งที่กล่าวมา เป็นลีลาที่ทำให้มนุษยสามารถมองเห็นลีลาที่ถ่ายทอดออกมาเป็นความงาม และได้ยินเสียงที่ไพเราะจนสามารถ เกิดความสุข ทั้งนี้ก็เพราะธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์งานด้านศิลปะ และนำ ำศิลปะมาช่วยในการพัฒนาอารมณ์และจิตใจ ของมนุษย์ โดยถ่ายทอดผ่านการรับรู้ ทั้ง3 ด้าน ได้แก่
          1) ศิลปะการมองเห็น ได้แก่ การวาดภาพ การปั้น การแกะสลัก รวมทั้ง สถาปัตยกรรมต่างๆ รวมเรียกว่า "ทัศนศิลป์"
  2) ศิลปะที่แสดงออกทางเสียงได้แก่ "ดนตรี" หรือ "โสดศิลป์" เป็นศิลปะ ดนตรีได้แก่ การบรรเลงที่มนุษย์สามารถชื่นชมความไพเราะได้ด้วยการได้ยินเสียงจากการบรรเลง ดนตรี เป็นต้น
    3) ศิลปะที่แสดงทางลีลาการเคลื่อนไหวหรือที่เรียกว่า "นาฎศิลป์" เป็นศิลปะการแสดงต่างๆ ซึ่งสามารถชื่นชมและมองเห็นด้วยตา ได้แก่ศิลปะการแสดง ระบำ รำ ฟ้อน โขน เป็นต้น
 ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเป็นแม่แบบในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ แขนงต่างๆ อันได้แก่ ทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฎศิลป์ ซึ่งเกิดจากระบวนการจดจำ ทำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดความสัมพันธ์กัน ระหว่างศิลปะ ดนตรี นาฎศิลป์ และมนุษย์ ถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะอันประณีต งดงามที่มีแบบแผนได้พบเห็น อยู่จนถึงทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น